top of page

กายภาพบำบัดด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตก

ฝังเข็ม

                    การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling)

          หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าการฝังเข็มกันมาบ่อยๆ บางคนเคยรับการรักษาด้วยการฝังเข็มบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าการฝังเข็มนั้นมีหลายแบบ และมีความแตกต่างกัน

          การฝังเข็มแบบตะวันตก เป็นวิธีการรักษาแบบหนึ่งนอกเหนือจากการกายภาพบำบัดทั่วๆไป ซึ่งมีประสิทธิภาพมากในการรักษาอาการปวดจากการหดเกร็ง เป็นพังผืดของกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome: MPS) ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ สามารถก่อให้เกิดอาการปวดจากตัวกล้ามเนื้อเองแล้วทำให้มีอาการร้าวไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เราเข้าใจผิดว่าเป็นโรคอย่างอื่นได้ เช่น กล้ามเนื้อเป็นพังผืดที่บริเวณบ่า สามารถร้าวไปที่คอ ขมับ เบ้าตา เกิดปวดหัวคล้ายจากไมเกรนได้ หรือคนไข้ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดน่องร้าวลงส้นเท้าฝ่าเท้า เป็นต้น ซึ่งโรคที่เราเจอบ่อยที่มาด้วยอาการปวดจากพังผืดเรื้อรัง เช่น อ๊อฟฟิศซินโดรม (Office Syndroem) ปวดหลัง (Low back pain)  อย่างไรก็ตามหากสาเหตุของอาการปวดนั้นเกิดจากโรคอื่น เช่นหมอนรองกระดูกทับเส้น หรือเอ็นอักเสบ การฝังเข็มแบบตะวันตกอาจจะไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่โรคบางโรค เช่น

หมอนรองกระดูกทับเส้น มักจะพบการปวดของกล้ามเนื้อร่วมด้วย หรือในบางครั้งถึงแม้มีภาวะหมอนรองกระดูกอักเสบจริง แต่สาเหตุการ

ปวดอาจเกิดจากพังผืดที่อยู่ในกล้ามเนื้อที่พบร่วมด้วยมากกว่า ดังนั้นก็อาจจะสามารถใช้การฝังเข็มแบบตะวันตกช่วยเรื่องอาการปวดดังกล่าวได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญก่อนที่จะทำการรักษาอาการปวดด้วยการกายภาพบำบัดต่างๆ จึงควรจะมีการตรวจประเมินหาสาเหตุของอาการปวดให้แน่ชัดด้วยแพทย์ก่อนเพื่อให้ผลการรักษาที่ดี 

           การฝังเข็มแบบตะวันตกนั้นมีเทคนิคหลักๆอยู่ 2 แบบ คือ

           1. การใช้เข็มฝังเข็มแบบจีนในการคลายจุดหรือที่เรียกว่า Dry needling ซึ่งการรักษาด้วยเทคนิคนี้เข็มจะมีขนาดเล็กมากหลังทำอาจจะรู้                   สึกหน่วงๆคล้ายฉีดถูกฉีดวัคซีนเข้ากล้ามประมาณ 1-3 วันสามารถรับประทานยาลดอาการปวดได้

           2. การใช้เข็มฉีดยาฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปที่จุดที่มีพังผืด หรือที่เรียกว่า Trigger point injection การคลายจุดด้วยวิธีนี้ เข็มจะมีขนาดใหญ่                   กว่าแต่เนื่องจากมีการใส่ยาชาเข้าไป อาจทำให้ปวดหน่วงน้อยกว่า อย่างไรก็ตามเทคนิคการทำไม่แตกต่างกันมากนัก

           การฝังเข็มแบบตะวันตกไม่จำเป็นต้องมีการทิ้งเข็ม หรือกระตุ้นไฟฟ้าเหมือนการฝังเข็มจีน อย่างไรก็ตามเพื่อผลการรักษาที่ดีในระยะยาว การยืดกล้ามเนื้อต่อเนื่องภายหลังการฝังเข็ม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ

Chincheewa Healthcare Rehabilitation Center แพทย์ฟื้นฟูประจำครอบครัวคุณ

bottom of page